สุภาษิต หมวด ก 76-100



76.) กินน้ำไม่เผื่อเเล้ง หมายถึง มีอะไรไช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างห้นา
77.) กินน้ำเห็นปลิง หมายถึง รู้สึกตะขิดตะขวงใจเหมือนจะกินน้ำก้อเห็นปลิงอยุ่ในน้ำก้อไม่กล้ากิน
78.) กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง เนรคุณ  เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น    
79.) กินบ้านกินเมือง หมายถึง ตื่นสายด้วยความเกียจคร้าน, ฉ้อราษฎร์บังหลวง
80.) กินบุญเก่า หมายถึง ได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า)
81.) กินปูนร้อนท้อง หมายถึง ทำอาการมีพิรุดขึ้นเอง เเสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง
82.) กินรังแตน หมายถึง มีอารมณ์เสียแล้วเอะอะโวยวายเกินกว่าเหตุ
83.) กินลมกินแล้ง หมายถึง ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
84.) กินเศษกินเลย หมายถึง กินกำไร, ยักยอกเอาเพียงบางส่วนที่มีจำนวนเล็กน้อยไว้, ยักยอกเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตน, เอาเพียงบางส่วนไว้เป็นของตน
85.) กินสำรับ หมายถึง กินอาหารที่เขาจัดมาเป็นสำรับ, กินอาหารอย่างดี
86.) กินเหมือนหมู อยู่เหมือนหมา หมายถึง เละเทะ ไม่มีระเบียบ
87.) กินอย่างหมู อยู่อย่างหมา หมายถึง เละเทะ ไม่มีระเบียบ
88.) กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง หมายถึง ตัวเองรู้เองทำเอง, รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้
89.) กู่ไม่กลับ หมายถึง ไม่ฟังคำทัดทาน, ห้ามไม่อยู่
90.) เก็บดอกไม้ร่วมต้น หมายถึง เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
91.) เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน หมายถึง เก็บเล็กผสมน้อย ทำอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อยโน่นบ้าง นี่ บ้างจนสำเร็จเป็นรูปออกมา
92.) เกลียดตัวกินไข่ หมายถึง เกลียดตัวเขาเเต่อยากได้ผลประโยชน์กับเขา
93.) เกลียดตัวกินไข่  เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หมายถึง เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา
94.) เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หมายถึง เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดตัวกินไข่ รวมเป็น เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
95.) เกลือจิ้มเกลือ หมายถึง ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน
96.) เกลือเป็นหนอน หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้านที่คิดคดทรยศ
97.) เกี่ยวเเฝกมุ่งป่า หมายถึง ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตน
98.) เกี่ยวก้อย หมายถึง อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่
99.) เกี่ยวแฝกมุงป่า  หมายถึง ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว
100.) แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง รนหาเรื่องเดือดร้อน    



สุภาษิต หมวด ก 1-25  | สุภาษิต หมวด ก 26-50 | สุภาษิต หมวด ก 51-75  | สุภาษิต หมวด ก 76-100  | สุภาษิต หมวด ก 101-110


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น